บูสเตอร์ซีท (BOOSTER SEAT) คืออะไร ถึงเวลาที่ลูกจะเปลี่ยนมาใช้หรือยัง

บูสเตอร์ซีท booster seat

DATE
15.03.2020

บูสเตอร์ซีท booster seat 1140x810 1

บูสเตอร์ซีท (Booster Seat) หรือ เบาะนั่งเสริม คล้ายกับคาร์ซีท เหมาะกับเด็กโต หลายคนสงสัยว่าเลือกยังไงให้ปลอดภัย แล้วลูกเราถึงวัยต้องใช้หรือยัง มาดูกัน!

บูสเตอร์ซีท (Booster Seat) หรือ เบาะนั่งเสริม คล้ายๆ กับคาร์ซีทเลย แต่ไม่มีเข็มขัดนิรภัยในตัวแบบ 5 จุด บูสเตอร์ซีทใช้กับเด็กที่โตเกินใช้แบบเข็มขัด 5 จุด แต่ยังไม่สามารถใช้เข็มขัดของรถยนต์ได้พอดี จึงต้อง Boost ก้นเด็กให้สูงพอที่จะใช้เข็มขัดรถได้พอดี (สายเข็มขัดต้องพาดไหล่ ไม่ใช่พาดคอ) ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพื่อความปลอดภัยของเด็กนั่นเอง

เบาะนั่งนิรภัยมีกี่แบบ

โดยส่วนมากแล้ว เบาะนั่งนิรภัยจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ แบบแรกคือ เป็นเบาะที่เรียกว่า Infant Carrier Seats สำหรับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน มีน้ำหนักประมาณ 9 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 66 เซนติเมตร แบบที่สองเรียกว่า Rear-Facing Convertible Seats สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 1 ปี มีน้ำหนักประมาณ 13.6 กิโลกรัม เป็นแบบหันหัวเด็กไปทางด้านหน้าของรถแบบเดียวกับแบบแรก

แบบที่สามเรียกว่า Forward Facing Seat หรือ Toddle Booster Seat เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักประมาณ 18.8 กิโลกรัม อายุ 1 ปีขึ้นไป และแบบสุดท้าย แบบที่ 4 คือ Booster หรือเบาะนั่งเสริม มีทั้งเบาะรองก้น ซึ่งเรียกว่า High Back Booster หรือว่าเป็นแค่เบาะรองนั่งอย่างเดียว และเบาะเสริมหลัง ดันด้านหลังให้พอดีอีกที เบาะประเภทนี้เป็นจุดสุดท้ายของเบาะนั่งนิรภัย ก่อนที่ตัวเด็กจะสามารถใช้เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ปกติได้ โดยปกติ Booster Seat จะใช้กับเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-8 ปี และมีความสูงประมาณ 142 เซนติเมตร รวมถึงผู้ใหญ่ที่อาจจะมีความผิดปกติทางสรีระก็ใช้ได้เช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีเบาะนั่งอีกประเภทที่เป็นเบาะพิเศษสำหรับเด็กแรกเกิด หรือ Special Seat ที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ ตัวเบาะจะมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกับเปลเลย อันนี้ก็เรียกได้ว่า เด็กที่เล็กกว่าแบบที่ 1 ก็ควรใช้อันนี้แหละ

Screen Shot 2563 03 04 at 13.57.47

คำแนะนำจาก Safe Kids Worldwide (เป็นองค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็ก) เกี่ยวกับ คาร์ซีท

ตัวเลขสถิติที่น่าสนใจที่จะทำให้ผู้ใหญ่ใส่ใจกับเรื่องการหาเบาะนิรภัยให้กับเด็ก รวมถึงหาแบบที่ถูกประเภท เหมาะสมสำหรับเด็กด้วยนั้น มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

  1. พ่อแม่ 9 ใน 10 คน เลิกให้ลูก Booster Seat ก่อนที่ลูกจะโตพอที่จะคาดสายเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่อย่างปลอดภัย
  2. การ Booster Seat ช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับบาดเจ็บถึง 45% เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่คาดสายเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่อย่างเดียว รวมถึงมีความเสี่ยงได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่หน้าท้อง ศีรษะ และกระดูกสันหลัง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  3. เด็กอายุ 4-10 ปี เสียชีวิตในอุบัติเหตุรถยนต์เฉลี่ย 340 คนต่อปี
  4. เด็กควรนั่งใน Booster Seat จนสูง 145 เซนติเมตร จึงจะสามารถนั่งคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัย

ถึงเวลาที่ลูกจะเปลี่ยนมาใช้ Booster Seat แล้วหรือยัง

จริงๆ หลายๆ ตำราจะบอกว่า การที่จะตัดสินใจให้เด็กใช้หรือไม่ใช้ Booster Seat นั้นจะบอกว่าให้อ้างอิงตามอายุ คือ อาจจะ 4-8 ปี หรือ 3-10 ปีแตกต่างกันไป แต่ความจริงนั้นการเลือกเบาะนั่งของเด็กในรถนั้น ควรจะดูจากน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่า ใน Booster Seat เด็กที่ใช้ควรมีน้ำหนัก 15-36 กิโลกรัม และมีความสูงประมาณ 100-145 เซนติเมตร อีกหนึ่งเคล็ดลับคือ Booster Seat มือสองก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะอายุการใช้งานที่ใช้ไม่ได้ยาวนานมากนัก รวมถึงราคาที่ถูกกว่า Booster Seat มือหนึ่ง และไม่ต้องกังวลเหมือนกับเบาะนิรภัยสำหรับเด็กในประเภทที่มีเข็มขัดนิรภัยในตัวแบบ 5 จุด เพราะถ้าเป็นเบาะนิรภัยประเภทนั้นแบบมือสอง ตัวเข็มขัดนิรภัยอาจจะเสื่อมสภาพก็เป็นได้

เมื่อไหร่ถึงจะให้เด็กๆ เลิกใช้ Booster Seat

ต้องหมั่นสังเกตเด็กๆ เองตอนนั่งรถไปไหนมาไหน อย่าไปยึดติดตามหลักเกณฑ์ในเรื่องของอายุ น้ำหนัก หรือส่วนสูงแต่เพียงอย่างเดียว ควรดูจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เช่น ถ้าลูกนั่งหลังพิงพนักได้แล้ว ลูกงอเข่าได้พ้นขอบเบาะแล้ว สายเข็มขัดนิรภัยที่พาดทะแยงหน้าอกพาดอยู่กลางบ่าพอดี ไม่พาดใกล้คอ หรือพาดใกล้แขน รวมถึงสายเข็มขัดนิรภัยด้านล่างพาดบริเวณต้นขา และสะโพกได้พอดี และลูกสามารถนั่งในท่านี้ได้สบายตลอดการเดินทาง ก็ถือว่าสามารถเอา Booster Seat ออกไปได้แล้ว หรือนำไปขายต่อก็ได้

car seat for children isolated PFH6444

จะซื้อเบาะนิรภัยแบรนด์ไหนดี

ในปัจจุบันแต่ละแบรนด์ก็ผลิตออกมาได้มาตรฐานกันทั้งหมดแล้ว แต่ถ้าเห็นชื่อแบรนด์เหล่านี้ ก็มั่นใจได้เลยว่าดีแน่นอน เช่น GRACO สินค้าจากอเมริกา, Ailebebe สัญชาติญี่ปุ่น, DAIICHI คาร์ซีทจากประเทศเกาหลี, Mountain Buggy จากประเทศอังกฤษ และ Joie จากอังกฤษ และ Chicco มาจากอเมริกา และรางวัลการันตีมากมายเช่นกัน ถ้าเห็นแบรนด์เหล่านี้ มั่นใจในคุณภาพได้เลย

เบาะนิรภัยมือสอง ควรใช้หรือเปล่า

โดยปกติจะไม่แนะนำให้ใช้เบาะนิรภัยมือสอง เพราะว่า เราจะไม่รู้ว่าผู้ใช้ก่อนหน้านี้มีการใช้และเกิดอุบัติเหตุมาก่อนหน้านี้และพร้อมที่จะปกป้องลูกน้อยจากอุบัติเหตุครั้งต่อไปหรือไม่

สำหรับความปลอดภัยของเด็กๆ บนท้องถนน เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เริ่มตั้งแต่ Car Seat หรือ Boosterl Seat สำหรับเด็กในทุกๆช่วงอายุของเด็ก โดยดูจากน้ำหนัก และส่วนสูงของเด็กว่า เหมาะกับการใช้เบาะนิรภัยมากแค่ไหน รวมถึงเมื่อไหร่ที่เด็กๆ ควรเลิกใช้เบาะนิรภัยได้แล้ว แบรนด์ไหนเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้จริง และการเลือกซื้อเบาะนิรภัยมือสองควรดูอะไรบ้าง ใส่ใจกับ Booster Seat เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ บนท้องถนน

Leave a Reply