DATE
30.06.2021
ลูกไม่ยอมนั่งรถเข็นหรือเปล่า? มาดูวิธีดี ๆ เพื่อฝึกฝนให้เจ้าเด็กตัวน้อยให้สามารถนั่งรถเข็นได้โดยไม่ร้องไห้กันดีกว่าค่ะ
ถือว่าเป็นปัญหาหนักใจอย่างมากเลยทีเดียวสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีปัญหาลูกไม่ยอมนั่งรถเข็น เพราะสำหรับลูก ๆ ในวัยกำลังซนนั้น มักจะร้องโอดครวญเวลาพาลูก ๆ ไปตามห้างสรรพสินค้า ที่สาธารณะ ที่กลางแจ้ง หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้อุ้มบ้าง หรือบางครั้งก็อยากจะวิ่งเล่นบ้าง ซึ่งหลายครั้งการนั่งรถเข็นนั้นก็มีความปลอดภัยต่อตัวลูกน้อยมากกว่า เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองไม่ให้คลาดสายตาและมีความสะดวกสบายต่อลูกน้อยและตัวคุณพ่อคุณแม่เองด้วย มาดูวิธีดี ๆ เพื่อฝึกฝนให้เจ้าเด็กตัวน้อยให้สามารถนั่งรถเข็นได้โดยไม่ร้องไห้กันดีกว่าค่ะ
1. พูดคุยและสอบถามถึงปัญหา
การที่ลูกไม่ยอมนั่งรถเข็นนั้นอาจจะมีสาเหตุ แต่ในบางครั้งเด็กเล็ก ๆ ก็มักจะมีวิธีการสื่อสารที่ทำให้ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ นั้นเข้าใจยากไปเสียหน่อย ภาษากายของเด็ก ๆ อาจสื่อสารออกมาเป็นอาการต่อต้าน เช่น ร้องไห้งอแง ปาสิ่งของลงพื้น หรือเป็นอารมณ์โกรธที่แสดงให้คุณพ่อคุณแม่เห็นแทน ดังนั้นควรค้นหาสาเหตุให้เจอแล้วทำการแก้ไข เช่น รถเข็นอาจจะทำให้ลูกกลัว หรือรู้สึกไม่สบายตัว เมื่อสามารถหาปัญหาเจอ ก็สามารถแก้ไข และอธิบายให้ลูกน้อยฟังด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลและปลอบประโลมถึงเหตุผล เช่น “แม่รู้ว่าหนูไม่อยากนั่งในรถเข็น แต่การนั่งรถเข็นจะทำให้ลูกไม่คลาดสายตาจากแม่นะคะ” หรือ “แม่ขอโทษนะคะที่ต้องให้หนูนั่งรถเข็น แต่ที่แม่ให้นั่งเพราะ…” เป็นต้น เด็กเล็กนั้นไม่มีการตระหนักรู้ถึงเรื่องเวลา ดังนั้นการอธิบายโดยใช้เงื่อนไขเรื่องเวลาเช่น “นั่งแค่ 30 นาทีนะคะ” ลูกอาจจะไม่เข้าใจ ควรบอกเงื่อนไขเป็นสิ่งที่มองเห็นได้เช่น “เห็นซุ้มตรงนั้นไหมคะ ถ้าเรานั่งรถเข็นไปถึงตรงนั้นแล้วแม่จะอุ้มนะ”
2. เพิ่มสิ่งของล่อใจแก่เด็ก ๆ ในรถเข็น
คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ของเล่นต่าง ๆ ที่สามารถสร้างกิจกรรมให้ลูก ๆ ขณะที่นั่งรถเข็นได้อย่างไม่มีเบื่อ เช่น ตุ๊กตาตัวโปรด, โมบายห้อยรถเข็น, ของเล่นต่าง ๆ รวมถึงขนมของกินเพื่อให้เด็ก ๆ สามารถใช้เวลาบนรถเข็นได้อย่างเพลิน ๆ จนลืมเรื่องที่ไม่อยากนั่งรถเข็นทิ้งไป อย่าลืมที่จะพูดคุยกับลูกเป็นระยะ เพื่อให้ลูกรู้สึกอุ่นใจว่าพ่อหรือแม่ยังอยู่ใกล้ ๆ และสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับลูก
3. สร้างบรรยากาศให้ลูกสนใจในสิ่งรอบข้างมากขึ้น
เพื่อป้องกันไม่ให้ลูก ๆ มีความรู้สึกไม่อยากนั่งรถเข็น หากคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณพี่เลี้ยงได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูก ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอขณะที่กำลังเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ก็ชี้ชวนให้ลูกดูข้างทาง พูดคุยโต้ตอบกับลูก นอกจากเด็ก ๆ จะสามารถมีความรู้สึกอุ่นใจ คลายกังวล และได้มีอารมณ์เบิกบานไปกับการสังเกตบรรยากาศรอบตัวได้แล้ว ยังสามารถฝึกให้ลูกไม่กลัวสังคมและชอบที่จะออกไปสู่โลกภายนอกอย่างแท้จริงได้อีกด้วย
4. ความสะดวกสบายของที่นั่งในรถเข็นสำหรับลูก ๆ
การที่ลูกไม่ยอมนั่งรถเข็นบางครั้งอาจเกิดจากรถเข็นที่กำลังใช้งานนั้นมีเบาะที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ๆ จึงอาจทำให้เด็กเกิดอาการต่อต้านได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรตรวจสอบสภาพของเบาะและที่นั่งให้เหมาะสมแก่ลูกน้อยก่อนซื้อและก่อนนำไปใช้งานนอกบ้านทุกครั้ง เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยของคุณและทำให้ลูก ๆ ไม่เกิดอาการต่อต้านในการนั่งรถเข็นได้
รถเข็น 3 ล้อ Mountain Buggy ® ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับทุก Lifestyle ของคนในเมือง
5. ตรวจดูภาวะอารมณ์ของลูก
บางครั้งภาวะอารมณ์ของลูกก็สำคัญ หากลูกกำลังเหนื่อยและง่วงนอนก็คงไม่อยากที่จะดูวิวหรือพูดคุยใด ๆ กับใคร การให้นอนในรถเข็นก็อาจจะเกิดอาการไม่สบายตัวเท่าการที่คุณแม่อุ้ม จึงทำให้การฝึกฝนให้นั่งรถเข็นนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ในกรณีเช่นนี้คุณแม่ควรพก Hip Seat เป้อุ้มเด็กไปด้วย เพื่อจะได้นำออกมาใช้ทันที
Baby Hills Thailand เองตระหนักและใส่ใจถึงเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้านำเข้าของเรามาเป็นอันดับหนึ่ง เราเป็นตัวแทนจำหน่ายเฉพาะแบรนด์ที่เราไว้ใจ ศึกษามาแล้วว่าได้มาตรฐานแน่นอนอย่าง Harmas เป้กระเป้าอุ้มเด็กที่ได้รับการออกแบบโดยยึดเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง คลิกเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเรา