DATE
17.12.2020
ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเผชิญคือ การฝึกลูกกินข้าวเอง วันนี้เรารวบรวมขั้นตอน วิธีฝึกลูกกินข้าว ต้องฝึกยังไงให้ถูกต้อง และประสบความสำเร็จ
เมื่อลูกน้อยถึงวัยที่เหมาะสมการฝึกลูกกินข้าวเองถือเป็นอีกพัฒนาการหนึ่งที่เด็ก ๆ ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ แต่ปัญหาที่พ่อแม่หลายคนพบเจอคือ ลูกไม่ยอมกินข้าวเอง พยายามสอนลูกกินข้าวเองอยู่หลายครั้งก็กลายเป็นว่างอแง ไม่สนใจ และอยากให้ป้อนมากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องรู้เทคนิคในการฝึกเพื่อให้ลูกเริ่มต้นกินข้าวเอง โดยเทคนิคที่จะกล่าวถึงนี้ยังใช้ฝึกลูกนั่งโต๊ะกินข้าวได้อีกด้วย
ฝึกลูกกินข้าวเอง เทคนิคที่พ่อแม่นำไปใช้ได้
1. หยุดการป้อนข้าว
เทคนิคแรกถือว่าจำเป็นและสำคัญมาก ๆ หากต้องการฝึกลูกกินข้าวเอง ต้องเริ่มจากการหยุดป้อนข้าวของพ่อแม่ก่อนเลย โดยวัยที่เริ่มหยุดก็ประมาณ 1 ขวบ ตรงนี้จะช่วยฝึกให้เขารู้จักการรับผิดชอบกับชีวิตของตนเองมากขึ้น
2. เลอะเทอะแค่ไหนไม่ต้องสนใจ
การสอนลูกกินข้าวเอง พ่อแม่ไม่ต้องกังวลใจว่าเวลาเขากินแล้วจะหกเลอะเทอะ เพราะนั่นคือการเรียนรู้เพื่อฝึกฝนว่าต้องกินอย่างไรถึงจะหยิบอาหาร ช้อน ส้อมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ในช่วงแรกจึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นความวุ่นวายที่ต้องเก็บเช็ดล้างบ้าง แต่ก็นับว่าวิธีฝึกที่ดี
3. กำหนดเวลากินข้าวให้ชัดเจน
เป็นการสอนให้เขารู้ว่าถึงเวลาต้องกินอาหารตามมื้อก็ควรกิน หากงอแง หรือลูกไม่ยอมกินข้าวเอง เมื่อครบกำหนดก็ให้หยิบจานข้าวออกแล้วเก็บไว้สำหรับมื้อถัดไป แต่พ่อแม่อย่าหงุดหงิดอารมณ์เสียเด็ดขาด และระหว่างมื้ออย่าพึ่งให้กินขนมอะไรทั้งสิ้น เพื่อถึงมื้ออาหารถัดไปเขาจะรู้สึกหิวและอยากกินมากขึ้นกว่าเดิม คราวนี้ไม่ต้องสอนก็ทำเองได้
4. กินบนโต๊ะอาหารดีที่สุด
พยายามฝึกลูกนั่งโต๊ะกินข้าวหรือเก้าอี้สำหรับลูกโดยเฉพาะ อย่าปล่อยให้นั่งเล่นที่อื่น หรือตามไปป้อนข้าวในขณะที่ลูกเล่นไปด้วยยิ่งไปใหญ่ ลูกควรได้เรียนรู้ว่าการนั่งกินข้าวที่เหมาะสมเป็นอย่างไร อีกทั้งยังเป็นการแยกเด็กออกจากปัจจัยรอบข้างที่เขาอาจสนใจมากกว่าการกินข้าวเอาได้ วิธีนี้จะทำให้เขาคุ้นชินเป็นนิสัย ในครั้งถัด ๆ ไปก็กินเองง่ายขึ้น
5. กินแบบพร้อมหน้าพร้อมตา อาหารแบบเดียวกัน
การที่ทุกคนในครอบครัวมารวมกันจะทำให้เด็กรู้สึกสนุก อยากกินแบบคนอื่นบ้าง รวมถึงยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นไปอีก ซึ่งอาหารก็ไม่ควรแยกกับคนอื่นเพราะมักทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองแปลกประหลาด
6. ชื่นชมเมื่อเขาทำสำเร็จ
ในการสอนลูกกินข้าวเอง หรือฝึกลูกนั่งโต๊ะกินข้าว หากเขาสามารถทำได้ตามที่พ่อแม่วางไว้ ควรมีคำชื่นชมเพื่อให้เด็กรู้สึกภูมิใจและอยากกินข้าวด้วยตนเองทุก ๆ ครั้ง
7. เลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับลูก
หากจะให้ลูกร่วมโต๊ะอาหารจะให้นั่งเก้าอี้ผู้ใหญ่ก็คงจะไม่เหมาะกับสรีระของลูก และอาจทำให้การกินข้าวเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับลูกไปเสียมากกว่า ดังนั้น จึงควรจัดหาเก้าอี้ที่ส่งเสริมให้ลูกน้อยสามารถนั่งกินข้าวได้อย่างสะดวกในเวลาอาหารได้
8. ใช้จานชามที่ลูกชอบเพื่อดึงดูดให้ลูกสนใจ
ให้ใช้ชุดจานชามช้อนส้อมแบบที่ลูกชอบ พวกลายการ์ตูนที่ดึงดูดความสนใจให้ลูกรู้สึกว่าน่าใช้ จะมีส่วนช่วยให้ลูกรู้สึกสนใจการรับประทานอาหารมากขึ้น นอกจากจานชามที่ดึงดูดใจแล้ว การทำอาหารหน้าตาน่ารับประทานก็ช่วยดึงดูดความสนใจจากลูกได้เช่นกัน แต่อาจจะไม่ต้องถึงกับลงมือทำอาหารน่าตาน่ารักเป็นรูปการ์ตูน หรือทำให้อาหารของลูกดูแตกต่าง ทำพอเป็นกิมมิคเล็กอย่างการตกแต่งด้วยแครอทรูปหัวใจเล็ก ๆ ก็น่าสนใจ
9. ให้ลูกกินในปริมาณที่พอดี อย่าบังคับให้ลูกกิน
ต้องกะปริมาณอาหารให้พอดีกับช่วงวัยของลูก พ่อแม่หลายคนอยากจะให้ลูกกินเยอะ ๆ จนบางทีก็เยอะจนเกินความจำเป็นในวัยของลูก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกะปริมาณพอดี ถ้าลูกบอกว่าอิ่มก็ให้หยุด อย่าบังคับให้ลูกกินจนหมด
สรุป
แม้ลูกอาจมีอาการดื้อบ้าง แต่ก็เป็นไปตามวัยของลูกที่กำลังฝึกฝน ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรใช้อารมณ์หรือความรุนแรงในการฝึกลูกให้กินข้าวเอง ให้ใจเย็น ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้สำหรับพ่อแม่ทุกคนจะช่วยให้ลูกทำได้อย่างแน่นอน
และสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเลือกซื้อเก้าอี้นั่งสำหรับลูกน้อย อย่าลืมเลือกซื้อคาร์ซีทที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับหลักสรีระศาสตร์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้เก้าอี้ที่เหมาะสมกับโครงสร้างร่างกายของลูก
Baby Hills Thailand เองตระหนักและใส่ใจถึงเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้านำเข้าของเรามาเป็นอันดับหนึ่ง เราเป็นตัวแทนจำหน่ายเฉพาะแบรนด์ที่เราไว้ใจ ศึกษามาแล้วว่าได้มาตรฐานแน่นอนอย่าง Jellymom คลิกเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Jellymom