8 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในเด็กวัย 0-5 ขวบ

8 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในเด็กวัย 0 5 ขวบ

DATE
28.10.2022

กิจกรรมพัฒนา กล้ามเนื้อมัดใหญ่

บทความนี้พามาดูไอเดียกิจกรรมง่ายๆ ที่พ่อแม่สามารถช่วยลูกฝึกได้ ตั้งแต่วัยหัดนั่งไปจนถึงวัย 3-5 ขวบ ส่งเสริม ‘กล้ามเนื้อมัดใหญ่’ ยังไง มาดู!

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว แขน ขา และเชื่อมต่อไปยังส่วนต่างๆ แน่นอนว่า พัฒนาการ กล้าม เนื้อ มัด ใหญ่ ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อคนเราทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึงวัย 5 ปี ซึ่งเป็นวัยแรกเริ่มและเรียกได้ว่าเป็นการวางรากฐานในการพัฒนากล้ามเนื้อเหล่านี้ให้แข็งแรง บทความนี้จึงขอมาบอกต่อ  8 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในเด็กวัย 0-5 ขวบ กัน

ความสำคัญของ กล้ามเนื้อมัดใหญ่

ตามที่เราได้เกริ่นไปบ้างแล้วว่า กล้ามเนื้อมัดใหญ่ หมายถึงส่วนไหน ก่อนที่จะไปบอกต่อ 10 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มาดูกันก่อนดีกว่าว่า ความสำคัญของ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีอะไรบ้าง

1) เป็นส่วนสำคัญสำหรับการทรงตัว

2) ช่วยให้ขยับตัว หรือ เล่นกีฬาได้อย่างคล่องแคล่ว

3) ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในช่วงวัย 0-5 ขวบนี้ ควรเริ่มได้ตั้งแต่ การควบคุมลำคอและศีรษะ คว่ำและหงายเอง จับสิ่งของ เริ่มต้นทรงตัวจนเดินได้ ไปจนถึงเคลื่อนไหวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้นและทำงานประสานกันได้ดี เมื่อมีอายุครบ 5-6 ขวบ

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

6 ไอเดียส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

8 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่

1) งอแขนขา

การฝึกทักษะ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ต้องปรับให้พัฒนาการเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เริ่มแรกจึงขอแนะนำให้ฝึกจากการฝึกงอแขนขา ให้ร่างกายทั้ง 2 ฝั่งเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากัน

2) หันซ้ายขวา ชันคอ

ในช่วงแรกเกิดเด็กๆ อาจจะยังไม่สามารถถึงขั้นทรงตัวได้ จึงฝึกได้เฉพาะแขนขา ลำคอ ฝึกหันหน้าไปมา ชันคอ หรือขยับตัวในส่วนต่างๆ ในขณะนอนราบกับพื้นได้ รวมถึงการฝึกหันลำตัวพลิกคว่ำ นอนหงายต่างๆ ด้วย

1527154595880
เก้าอี้หัดนั่งที่ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้หลากหลาย ทั้งหัดนั่ง ฝึกกินข้าว (เสริมถาดถอดเข้า-ออกได้) ฝึกนั่งแล้วเสริมกิจกรรมเพื่อยืดงอแขนขา สะดวก แถมออกแบบมารับกับสรีระ (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)

3) ฝึกนั่ง คลาน เกาะ

เมื่อผ่านพ้นการฝึกพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในขณะนอนได้แล้ว ต่อไปก็จะฝึกให้เด็กๆ เริ่มทรงตัวและศีรษะ ด้วยการนั่ง คลาน เกาะกับสิ่งต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มฝึกเดินด้วยตัวเองกันต่อไป

4) เดิน วิ่ง ก้มเก็บของ

หลังจากเข้าสู่ช่วง 1 ขวบ – 1 ขวบ ครึ่ง สังเกตเห็นว่า เด็กสามารถทรงตัวได้แล้ว อาจเริ่มฝึกให้เด็กๆ เดินและวิ่ง โดยไม่ต้องเกาะจับหรือประคอง เมื่อคล่องตัวแล้วก็อาจจะเริ่มหากิจกรรมมาให้เด็กๆ ได้ร่วมเล่นอย่างสนุกสนาน นั่นก็คือ การวิ่งก้มเก็บของ

Untitled 1

5) เตะลูกบอล ว่ายน้ำ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่อยากให้เด็กๆ ได้ลองเล่นกีฬา เสริมพัฒนาการและร่างกายแข็งแรง อาจลองหากีฬาง่ายๆ ที่วัยเด็ก 0-5 ขวบสามารถทำได้ เช่น เตะลูกบอล ว่ายน้ำ (บางครั้งจะเห็นว่า บางครอบครัวก็สนับสนุนให้ฝึกว่ายน้ำตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว นั่นก็เพราะว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกที่มีประสบการณ์นะคะ) ฯลฯ

6) เลียนแบบสัตว์

ไม่เพียงแต่เป็นการฝึกให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และจดจำข้อมูลใหม่ๆ จากสิ่งที่เด็กๆ มีแนวโน้มสนใจ แต่การให้เด็กๆ ได้ฝึกเลียนแบบสัตว์ ยังเป็นการฝึกขยับร่างกาย เสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และส่วนต่างๆ ได้แบบไม่น่าเบื่อด้วย

7) ถีบรถ 3 ล้อ

การฝึกถีบรถ 3 ล้อ เป็นอีกกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้หลากหลายส่วน ทั้งในส่วนการควบคุมลำตัว การขยับแขนขา ส่งเสริมการเรียนรู้ในการระมัดระวังตัว และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว ยิ่งเมื่อลูกโตแล้วการเอาล้อที่ 3 ออกก็จะยิ่งง่ายขึ้นกว่าเดิม สามารถฝึกทักษะการประสานงานกันระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

photo 1528799547354 c537ef886c35

8) ของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่

นอกจากกิจกรรมเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่แล้ว ผู้ปกครองอาจหาของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยมาให้เด็กๆ ได้เล่น เพื่อให้เด็กๆ ได้มีพัฒนาการที่ดีไปพร้อมกับการเสริมสร้างอารมณ์ดีสมวัยและปลอดภัยไร้กังวล แทนการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างเยอะก็ได้เช่นกัน

สรุป

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ถือเป็นส่วนสำคัญของร่างกายไม่แพ้ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงวัย 0-5 ขวบ เพราะฉะนั้นผู้ปกครองทุกท่านไม่ควรลืมสังเกตพัฒนาการและหากิจกรรมหรือของเล่นมาเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้มีความสามารถและความแข็งแรงสมวัยอยู่เสมอ

Leave a Reply